วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การรักษานอนกรนและการหยุดหายใจ

          อาการนอนกรนที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ทั้งพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของคุณเอง หรือด้วยสรีระร่างกายที่ผิดปกติที่ทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการกรนได้นั้นเอง อาการโดยทั่วไปนั้นผู้ป่วยจะมีการอาการนอนกรนขณะหลับ หรืออาจปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รีบรักษาอาจทำเกิดภาวะการหยุดหายใจร่วมด้วย ยิ่งจะทำให้มีความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับการรักษาอาการนอนกรนแบบที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea) วิธีที่ใช้โดยทั่วไป คือ
  1. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่เห็นผลสำหรับผู้ป่วยบางราย แต่ก็สามารถช่วยให้มีอาการลดลงได้มาก และจะต้องหม่ำค่อยตรวจเช็คร่างกายอยู่เป็นประจำ 
  2. การใช้เครื่องอัดอากาศ (CPAP) เจ้าเครื่องนี้เป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้ที่มีอาการนนอนกรนทั้งหญิงและชาย และสามารถใช้ได้กับทุกความรุนแรงของโรค ได้ผลทันที 
  3. การใช้เครื่องดึงกรามล่างไม่ให้ตกขณะหลับ (MAS หรือ Mandibular Advancement Spint) จะทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการอุดกลั้นทางเดินหายใจได้ เป็นวิธีการรักษาอาการที่ความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง 
         ดังนี้ เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีการกรนขณะนอนหลับนั้น ก็ควรที่จะหาเวลาว่างเข้ารับการตรวจการนอนหลับเพื่อวัดระดับสุขภาพการนอนกรนของคุณ และทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไปด้วย ซึ่งไม่ว่าอาการจะอยู่ในระดับใดก็ตามควรที่จะได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้นกว่านี้